โรคเหี่ยวเขียว และ เหี่ยวเหลือง ในดาวเรือง

9203 Views  | 

โรคเหี่ยวเขียว และ เหี่ยวเหลือง ในดาวเรือง

โรคเหี่ยวเขียว สัญญาณร้ายจากแบคทีเรีย ที่คล้ายอาการขาดน้ำ

          ลักษณะอาการ : เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณด้านบนแสดงอาการเหี่ยวสลดคล้ายอาการขาดน้ำโดยต้นจะแสดงอาการเหี่ยวในช่วงกลางวันที่มีแสงแดดส่วนตอนเช้าและตอนเย็นต้นจะมีอาการปกติและหลังจากนั้น 4-5 วัน ต้นดาวเรือง จะตายโดยที่ใบยังมีสีเขียวอยู่
         การป้องกัน : หากพบโรคระบาดให้ขุดต้นถอนทิ้งและพยายามอย่าให้น้ำผ่านบริเวณที่เกิดโรค
         สารเคมีที่ใช้ : สเตปโตมัยซิน 120 กรัม ผสมเมทาแลกซิล 25% 200 กรัม ผสมน้ำ 200 ลิตรรดบริเวณโคนต้น


โรคเหี่ยวเหลือ โรคร้ายจากเชื้อรา

          ลักษณะอาการ : เริ่มจากใบดาวเรืองที่มีอยู่บริเวณ โคนต้นแสดงอาการใบเหลืองจะแห้งตายใบทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะแบนเหี่ยวและลำต้นลีบ บริเวณคอดินหรือเหนือดิน มักมีสีแดงคล้ำกว่าส่วนอื่น
         การป้องกัน : หากพบโรคระบาดให้ขุดต้นถอนทิ้งและพยายามอย่าให้น้ำผ่านบริเวณที่เกิดโรค
         สารเคมีที่ใช้ : เบโนมิล, ไธโอฟาเนททิล, อีทรีไดอาโซล

         หมายเหตุ : การปลูกแบบยกร่องแปลงจะช่วยควบคุมการระบาดของโรคได้ เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่และขยายพันธุ์ได้ในดินและในน้ำ การแพร่กระจายของโรค ส่วนใหญ่มักจะแพร่กระจายไปตามน้ำ ทําให้มองเห็นว่าการเกิดโรคมักจะเกิดเป็นหย่อมๆ และขยายเป็นวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ในสภาพดินที่มีความชื้นสูงการเกิดโรคจะมาก และมีการระบาดอย่างรวดเร็ว

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy